วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มารยาทในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

มารยาทที่ควรต้องจำในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  มีดังนี้

            1.  การขึ้นต้นและลงท้ายให้เหมาะสม  ก็เหมือนกับหลักการเขียนจดหมายโดยทั่วๆ ไป  ควรเป็นข้อความที่สุภาพ  เพราะการติดต่อกันในครั้งแรกนั้นถือว่าสำคัญ  เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจแก่กัน

            2.  เนื้อหาในตัวจดหมายต้องเป็นข้อความที่สุภาพเรียบร้อย  ไม่พาดพิงเพื่อให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย  ซึ่งผู้ส่งต้องรับผิดชอบในเนื้อหาเหล่านั้น  เพราะสามารถเผยแพร่ไปยังบุคคลอื่นๆ ได้

            3.  งดการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ในการเขียนตลอดประโยค  (ในกรณีภาษาอังกฤษ)  เพราะมันแสดงถึงการที่คุณกำลังตะโกนใส่เขา

            4.  ไม่ควรส่งจดหมายขยะ  (Junk  Mail)  หรือจดหมายลูกโซ่แก่บุคคลอื่น  เพราะจะสร้างความรำคาญให้แก่ผู้รับ  และในบางครั้งเมล์เหล่านั้นอาจมีไวรัสปะปนไปด้วย

            5.  เมื่อต้องการแนบไฟล์หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบไปพร้อมกับเมล์  ควรย่อไฟล์ก่อนส่งไปพร้อมจดหมาย  เพราะไฟล์ที่จะส่งไปพร้อมกับจดหมาย  (attachment)  ขนาดโตๆ จะทำให้ผู้รับปลายทางต้องรอดาวน์โหลดข้อมูล  การที่เราส่งไฟล์ก้อนโต ๆ ไปให้เขานั้นเท่ากับเป็นการปิดกั้นเมล์อื่นๆ ที่จะถูกคนอื่น ๆ ส่งไปหาเขา  เพราะถ้าตู้เก็บจดหมายของเขาเต็ม  เขาก็ไม่สามารถรับอีเมล์ฉบับอื่นๆ  ได้อีก

            6.  ไม่ควรส่งแล้วส่งอีก  เช่น  โปรแกรมฟ้องว่า  "ส่งไม่ผ่าน"  ก็เลยส่ง...ส่ง...แล้วก็ส่งจนกว่าจะผ่าน  จึงทำให้ผู้รับได้รับอีเมล์ถึง  3 - 4  ฉบับติด ๆ กันเป็นฉบับเดิม  สำหรับหนทางแก้ไขควรจะเขียนอีเมล์ขอโทษในฉบับสุดท้ายที่ส่งผ่าน  เพราะโดยปกติแล้วการส่งจดหมายฉบับเดิมซ้ำ ๆ กัน  มีความหมายไปในทาง  การทวง  การเตือน  การตอกย้ำ  หรือกวน...

            7.  หมั่นตรวจสอบจดหมายเป็นประจำ  ตรวจเช็ค  อ่านจดหมายและตอบจดหมายคืนให้กับผู้ที่ส่งมาด้วย  เพราะถือเป็นมารยาทที่สำคัญและจำเป็นในการติดต่อสื่อสาร  อีกทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้ตู้จดหมายเต็มและไม่สามารถรับจดหมายฉบับใหม่ที่ถูกส่งเข้ามา พร้อมทั้งลบจดหมายที่ไม่ต้องการใช้แล้วออก  รวมทั้งข่าวสารต่างๆ ที่เก่าให้ลบด้วย  ซึ่งอาจบันทึกเก็บลงในพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่องได้  ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องการใช้อีก

ข้อมูลจาก http://apichetchet.exteen.com/20081126/entry-2

รูปแบบของการบริการฟรีเมล์

การให้บริการฟรีอีเมล์ในปัจจุบัน  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท คือ

            1.  Web  Based  E-mail  เป็นอีเมล์ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ใช้บริการ  ดังนั้นทุกครั้งที่ผู้ใช้จะเข้าไปอ่านหรือส่งอีเมล์จำเป็นจะต้องเปิดเว็บพร้อมกรอกชื่อและรหัสผู้ใช้ก่อนเข้าไปใช้บริการ  และผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบจากเครื่องใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

            2.  Pop  Mail  เป็นอีเมล์ที่สนับสนุนให้สามารถเรียกมาเปิดอ่านผ่านโปรแกรมรับส่งอีเมล์บนเครื่องของผู้ใช้  แต่เมื่อผู้ใช้ได้เปิดอ่านอีเมล์แล้วโปรแกรมจะโหลดอีเมล์มาไว้บนเครื่องของผู้ใช้  พร้อมกับลบต้นฉบับบนเซิร์ฟเวอร์ทิ้งไป

            3.  Imap  Mail)  เป็นอีเมล์ที่คล้ายกับ  Pop  Mail  ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมโหลดอีเมล์มาเปิดอ่านที่เครื่องของผู้ใช้ได้  แต่เหนือกว่านั้นคือ  ผู้ใช้สามารถเห็นหัวข้ออีเมล์ก่อนที่จะโหลดข้อความ  และถูกถ่ายโอนข้อมูลถึงกันทันทีหลังจากมีการเลือกเปิดอ่านอีเมล์ที่ต้องการ

ข้อมูลจาก http://apichetchet.exteen.com/20081126/entry-5

ประเภทของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในปัจจุบัน

อีเมล์จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  (ISP)
          คือ  อีเมล์ที่มีแถมมาให้ควบคู่กับการสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  (ISP)  ซึ่งเป็นการให้บริการกับลูกค้าที่สมัครใช้บริการ  ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าของสินค้าและเป็นอีกช่องทางในการที่จะโฆษณาการให้บริการ  และจัดส่งข้อมูลข่าวสารไปถึงสมาชิกที่สมัครใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งเมื่อสมัครแล้วทางศูนย์จะให้อีเมล์แอดเดรสกับสมาชิก เช่น  ploy241@ksc.net ซึ่งก็คืออีเมล์ที่บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  KSC  แจกให้กับสมาชิก เป็นต้น

อีเมล์จากหน่วยงาน
          คือ  อีเมล์ที่องค์กรออกให้เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรได้ใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ซึ่งบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ จะได้รับอีเมล์แอดเดรสของตนเองจากการสมัคหรือกำหนดให้จากผู้ดูแลระบบ เช่น  ploy221@kku.ac.th  คือ  อีเมล์ของบุคลากรที่ชื่อ  พลอยซึ่งเป็นสมาชิกในหน่วยงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น

อีเมล์ฟรีจากเว็บไซต์
          คือ  อีเมล์ที่มีเว็บไซต์เปิดให้บริการรับ-ส่งอีเมล์  หรือทำหน้าที่เป็นผู้รับฝาก-ส่งจดหมายบนอินเทอร์เน็ตฟรี  ซึ่งอีเมล์ฟรีเหล่านี้พบได้จากเว็บไซต์ชื่อดังมากมายบนอินเทอร์เน็ต  ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบการให้บริการเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล  บริการให้พื้นที่ฟรีสำหรับการสร้างเว็บไซต์  และให้บริการอีเมล์ฟรีโดยตรง  จุดประสงค์หลักเพื่อเรียกให้คนเข้ามาใช้บริการในจำนวนมาก ๆ ซึ่งเมื่อคนเข้ามาชมและใช้บริการมาก  จะทำให้เว็บไซต์นั้น ๆ ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบ
อื่น ๆ เช่น  จากการโฆษณาที่ลงโฆษณาผ่านเว็บนั้น ๆ ผู้ให้บริการฟรีอีเมล์ชื่อดังรายใหญ่ อาทิ  เช่น  yahoo.com, hotmail.com,  aol.com  เป็นต้น


ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/emailpa05/prapheth-khxng-pirsniy-xilekthrxniks-thi-chi-ni-paccuban


E – mail Address

          อีเมล์คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูล
ในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง
อีเมล์แอดเดรส ( E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com

ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้


          ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร ก็ได้

ส่วนนี้ คือ เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า แอท
ส่วนที่สาม คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ

.com = commercial บริการด้านการค้า


.edu = education สถานศึกษา


.org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร


.gov = government หน่วยงานรัฐบาล


.net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย


ตัวอย่าง e-mail address


stg@mail.ians.navy.mi.th somchai@access.inet.co.th somchai@ku.ac.th



ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/stdcas/xinthexrnet/ximel-hmay-thung-xari



กระบวนการทำงานของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ระบบการทำงานของอีเมล

          อีเมลเป็นการส่งข้อความในรูปของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยการส่งผ่านข้อความดังกล่าว จะถูกส่งผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไปยังเมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server)  ผ่านไปทางอินเตอร์เน็ต  จากนั้นข้อมูล ็จะถูกนำไปเก็บไว้ในเมลบ็อกซ์ของผู้รับที่เราส่งไป  การส่งอีเมล  ก็จะประกอบไปด้วย  3  ส่วน  ที่สำคัญ  ได้แก่
         1.  ในการส่งอีเมล เราจะต้องทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าไปใช้งานเมลเซิร์ฟเวอร์ โดยจะมีโปรโตคอลที่ใช้ในการส่งอีเมล  ก็คือ  SMTP-Simple Mail Transfer Protocol
         2.  การส่งข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์  หลังจากที่เราได้เขียนข้อความในอีเมลเรียบร้อยแล้ว  คอมพิวเตอร์ก็จะส่งอีเมล ไปยังเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ก็จะทำการตรวจสอบชื่อ  และ ที่อยู่ของผู้รับอีเมล  แล้วจึงส่งอีเมลนั้นไปยังเซิร์ฟเวอร์ ของผู้รับ
         3.  ผู้รับอีเมล  หลังจากที่อีเมลของผู้ส่งได้ถูกส่งมายังเมลบ็อกซ์ของผู้รับแล้ว  อีเมลก็จะปรากฏอยู่ในเมลบ็อกซ์ จนกว่าผู้รับจะได้เปิดอ่าน  และทำการลบอีเมลนั้นทิ้งไป


ข้อมูลจาก http://www.krunee.com/E_learning/content142.html

ความเป็นมาของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

            ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์เริ่มมีขึ้นในปี  ค.ศ. 1971  โดยนาย Roy  Tomilison  เป็นผู้คิดค้นซอฟต์แวร์ที่ใช้การรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบของอีเมล์ขึ้นมาได้เป็นคนแรก  ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่  Bolt  Beranek  and  Newman(BBN)  โดยที่เขาคงไม่คาดคิดว่าการรับส่งอีเมล์จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่าง ๆ ไหจากเดิมเป็นอันมากเช่นในปัจจุบัน

            ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว  บรรดาวิศวกรของ  BNN  สามารถส่งข้อความไปยังคนอื่นๆ  ได้  โดยข้อความที่ส่งออกไปนั้นจะถูกเก็บไว้ใน  Mailbox  ของผู้รับ  แต่ดูเหมือนว่าประโยชน์การใช้งานนั้นยังมีไม่มากนักเพราะข้อจำกัดในการใช้งาน  ในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่งข้อความและใช้ในการเปิดอ่านจาก  Mailbox  นั้นจะต้องเป็นเครื่องเดียวกัน

            หลังจากนั้น  Tomlison  ได้ใช้ปรับปรุงการทำงานของระบบ  โดยทดลองใช้กับโปรโตคอลที่มีชื่อว่า  CYPNET  ที่ยินยอมให้มีการส่งและรับไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ภายใน  BBN  ซึ่งการทำงานดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกับคุณสมบัติของระบบเน็ตเวิร์คของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ  ที่มีชื่อว่า  "ARPANET"  ที่ได้พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว

            Tomlison  ได้ทำการเชื่อมโยง  SNDMSG  และ  CYPNET  เข้าด้วยกัน  โดยอาศัยคุณสมบัติของ  ARPANET  เพื่อให้สามารถรับส่งข้อความระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องภายใน  BBN  ได้

            โดยการพัฒนาขั้นถัดมาของ  Tomlison  ก็คือ  การจำแนกว่าข้อความที่ส่งนั้น  มาจากเน็ตเวิร์ควงใดและให้สามารถรับ-ส่งข้อความจากเน็ตเวิร์ควงอื่น ๆ เพื่อการใช้งานร่วมกันจากทุกเน็ตเวิร์ค  โดยการใช้งานสัญลักษณ์  @  ขึ้นมาเพื่อใช้จำแนกวงเน็ตเวิร์ค

            ต่อมา  Tomlison  ได้คิดค้นซอฟต์แวร์  SNDMSG  เวอร์ชั่นใหม่ขึ้นมาเพื่อให้กลุ่มผู้ที่ไม่ได้ทำงานใน  BBN  ได้ใช้งาน  โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวช่วยให้สามารถส่งข้อความต่าง ๆ ข้ามเน็ตเวิร์คได้  ทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูง  และมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว  70 - 75 เปอร์เซ็นต์ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น


ข้อมูลและรูปภาพจาก http://apichetchet.exteen.com/20081126/entry-8




ความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

          E-Mail   หรือ Electronic Mail   เป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์   รับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทำให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที  โดยที่เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลารอคอยที่ยาวนานเหมือนกับไปรษณีย์ทั่วไป  การติดต่อโดยใช้ไปรษณีย์ธรรมดาติดต่อภายในประเทศอาจใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน ถ้าหากเป็นจดหมายที่ส่งไปยังต่างประเทศ (Air mail) อาจใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ e-Mail ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าการใช้โทรศัพท์หรือการส่งจดหมายโดยวิธีปกติที่ใช้กันหลายเท่าตัวโดยทั่วไป  ค่าใช้จ่ายในการส่ง e-Mail ไม่ว่าจะส่งจากแห่งใดในทุกมุมโลกก็ไม่ต่างกัน ไม่ว่าาจดหมายนั้นจะสั้นหรือยาว จะส่งไปใกล้หรือไกล

          E-Mail  เป็นช่องทางสำหรับการส่งข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง รูปแบบการใช้งานแตกต่างกันไป นักเรียน - นักศึกษา นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน หรือติดต่อ ส่งข้อมูล ข้อความ ขอคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอน องค์กรขนาดใหญ่ๆ ก็สามารถติดต่อกับบุคลากร หรือทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอีเมล์ เป็นต้น
ข้อมูลและรูปภาพมาจาก https://sites.google.com/site/emailpa05/khwam-hmay-khxng-pirsniy-xilekthrxniks-e-mail